ก๊าซ NGV กับรถยนต สถานีจำหน่ายก๊าซ ผลงานลูกค้า อัตราค่าบริการ คำถามบ่อย
 

 
NGV คืออะไร

ก๊าซ NGV (เอ็น จี วี) ย่อมาจากคำว่า Natural Gas for Vehicles) หรือ ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ โดยก๊าซ NGV นี้ มีส่วนประกอบหลัก คือ ก๊าซมีเทน มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศส่วนใหญ่ จะมีการใช้งานอยู่ในสภาพเป็นก๊าซที่ถูกอัดจนมีความดัน มีความดัน 3,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เก็บไว้ในถังที่มีความแข็งแรงทนทานสูงเป็นพิเศษ บางครั้งจึงเรียกก๊าซนี้ว่า CNG (ซี เอ็น จี) ซึ่งย่อมาจาก Compressed Natural Gas หรือก๊าซธรรมชาติอัด

NGV ไม่ใช่ของใหม่

การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์มีมากกว่า 80 ปีแล้วโดยประเทศอิตาลี เป็นประเทศแรก ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีรถยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติเกือบ 4 ล้านคัน สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มนำก๊าซ NGV มาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถโดยสารประจำทาง NGV ของ ขสมก. ตั้งแต่ปี 2536 โดยได้สร้างสถานีบริการก๊าซ NGV แห่งแรกในประเทศไทย ณ อู่รถโดยสารรังสิต ของ ขสมก.

NGV ช่วยประเทศไทยอย่างไรบ้าง
  1. ช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศ ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดควันดำ หรือ สารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
  2. ช่วยลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ โดยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นการสงวนเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตได้ในประเทศ
NGV ปลอดภัยหรือไม่

ก๊าซ NGV นับว่าเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถยนต์ที่มีความปลอดภัยกว่าน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลโดยจำหน่ายที่ราคาครึ่งหนึ่ง (50%) ของราคาน้ำมันดีเซล ทั้งนี้มีเพดานราคาที่จะไม่ปรับสูงเกินกว่า 10.34 บาท ต่อกิโลกรัม


NGV ราคาเท่าไหร่

ตามสูตรราคาก๊าซ NGV นั้นอิงกับราคาน้ำมันดีเซลโดยจำหน่ายที่ราคาครึ่งหนึ่ง (50%) ของราคาน้ำมันดีเซล ทั้งนี้มีเพดานราคาที่จะไม่ปรับสูงเกินกว่า 10.34 บาท ต่อกิโลกรัม ณ. ขณะนี้ปตท.ยืนยันที่จะรักษาระดับราคา NGV ไว้ที่ 8.5 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงสิ้นปี 2550 และหลังจากนั้นราคา NGV จะถูกกำหนดไว้ไม่เกิน 50% ของราคาน้ำมันดีเซล


รูปแบบเครื่องยนต์ที่ใช้ NGV
  1. เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว (Dedicated NGV) เป็นเครื่องยนต์ที่ออกแบบให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ ซึ่งมีระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงแบบที่ต้องใช้หัวเทียนในการจุดระเบิด มีทั้งรถที่ผลิตออกมาจากโรงงานรถยนต์โดยตรง(OEM) และที่ทำการดัดแปลงเครื่องยนต์ภายหลัง
  2. เครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงได้ 2 ชนิด มี 2 ระบบ คือ
    1. เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงสองระบบ (Bi-Fuel) เป็นเครื่องยนต์เบนซินที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซฯ และถังก๊าซเพิ่มเติม สามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงได้ทั้งเบนซิน และ ก๊าซฯ
    2. เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงร่วม ( Diesel Dual Fuel) เป็นเครื่องยนต์ดีเซลที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซฯ และถังก๊าซ ซึ่งใช้น้ำมันดีเซลร่วมกับก๊าซธรรมชาติ โดยน้ำมันดีเซลเป็นตัวจุดระเบิดนำร่อง

ข้อดีจากการใช้ก๊าซ NGV
  1. ประหยัดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง เมื่อเทียบกับ น้ำมันเบนซิน 91 และ 95 ประมาณ 75% (สามารถดูได้จากตารางการคำนวณจุดคุ้มทุน ในตารางจุดคุ้มทุน และ ตารางเปรียบเทียบ )
  2. สามารถเลือกใช้น้ำมันเบนซิน หรือ ก๊าซ NGV เป็นเครื่องเชื้อเพลิงได้ตามต้องการ โดยสามารถปรับสวิทซ์เลือกใช้เชื้อเพลิงได้ในขณะที่รถวิ่งอยู่ (Bi-Duel Fuel ระบบเชื้อเพลิง 2 ระบบ)
  3. เครื่องยนต์ (ยกเว้นบ่าวาล์วไอเสีย) สึกหรอน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันเบนซินเนื่องจาก
    1. ไม่มีการเจือจางของน้ำมันเชื้อเพลิงในน้ำมันหล่อลื่น
    2. ไม่มีสารกำมะถันเป็นส่วนประกอบ จึงทำให้ความเป็นกรดต่ำกว่าในน้ำมันเบนซินและดีเซล ซึ่งมีสารกำมะถันเจือปนอยู่ด้วย
    3. การเผาไหม้เกิดเขม่าซึ่งเป็นมวลสารของแข็งไปเจือปนในน้ำมันเบนซิน และดีเซล จึงทำให้อายุการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นสูงขึ้น

ข้อด้อยรถใช้ NGV ระบบเชื้อเพลิงสองระบบ
  1. ต้องติดตั้งถังบรรจุก๊าซ และเนื้อก๊าซที่มีน้ำหนักประมาณ 78 กก. (ถังก๊าซ 63 กก.+ เนื้อก๊าซประมาณ 15 กก.)
  2. เสียพื้นที่บรรจุสัมภาระ เนื่องจากต้องติดตั้งถังบรรจุก๊าซในพื้นที่หลังรถ
  3. กำลังเครื่องยนต์ และอัตราเร่งด้อยกว่าการใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากเครื่องยนต์มีอากาศเข้าไปเผาไหม้น้อยลง รวมถึงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากถังก๊าซที่ติดตั้งเพิ่มเติม
  4. บ่าวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ใช้ก๊าซ NGVและก๊าซหุงต้มมีโอกาสที่จะสึกหรอเร็วกว่าการใช้น้ำมันเบนซิน ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาข้างต้น ผู้ติดตั้งอุปกรณ์จะดำเนินการดังนี้
    1. ตั้งเวลาการจุดระเบิดของหัวเทียน (Timing Advance) ให้เหมาะกับการใช้ก๊าซ NGV
    2. รถยนต์ต้องสตาร์ทด้วยน้ำมันเบนซินทุกครั้ง จนความเร็วรอบของเครื่องยนต์ได้ตามค่าที่กำหนดไว้ จึงจะเปลี่ยนไปเป็นก๊าซ NGV แทนน้ำมัน
    3. ตรวจเช็ค และตั้งวาล์วไอเสีย ทุกระยะทางประมาณ 40,000 – 60,000 กม.